วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2552



บทที่ 3


การสื่อความหมายการสื่อความหมาย คือ การถ่ายโยงความคิดหรือความรู้สึกให้เห็นพ้องต้องกันของบุคคลหนึ่งไปยังบุลคลหนึ่ง โดยผ่านช่องทางต่างๆ เช่น การพูดคุย กริยาท่าทาง การแสดงสีหน้า ภาษาเขียนภาษาภาพองค์ประกอบของการสื่อความหมาย


1).ผู้ส่ง อาจเป็นเพียง 1 คนหรือกลุ่มคนก้ได้ ซึ่งเป็นผู้นำเรื่องข่าวสารเพื่อส่งไปยังผู้รับ โดยวิธีการใดวิธีหนึ่ง ในการเข้ารหัสเพื่อให้ผู้รับเข้าใจ


2).สาร เนื้อหาของสารหรือสารของเรื่องราวที่ส่งออกมา


3).สื่อ หรือช่องทางในการนำสาร ได้แก่ ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดเหตุการณ์ บทเรียน ที่ผู้ส่งต้องการให้ไปถึงผู้รับ สื่อที่ใช้ในการถ่ายทอดอาจเป็น ภาษาพูด ภาษาเขียน และภาษามือ ภาษากายก็ได้


4).ผู้รับหรือกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ผู้รับข่าวสารเรื่องราวต่างๆ จากผู้ส่ง


5).ผลได้แก่ การรับรู้ข่าวสารของผู้รับ ซึ่งผู้รับจะเข้าใจข่าวสารมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับสิ่งที่ใช้ในสถานการณ์ และทัศนคติของผู้รับในขณะนั้น


6).ข้อมูลย้อนกลับ ได้แก่ การแสดงกริยาตอบสนองของผู้รับต่อข้อมูลข่าวสารให้ผู้รับส่งรับรู้การสื่อ หมายโดยทั่วไป จำนวนเป็น 3 ลักษณะดังนี้


1).วิธีการของการสื่อความหมาย


1.1 วจนภาษา หมายถึง การสื่อความหมายโดยใช้ภาษาพูด


1.2 อวจนภาษา หมายถึง การสื่อความหมายโดยใช้ภาษากาย ภาษาเขียน และภาษามือ


1.3 การเห็นหรือการใช้จักษุสัมผัส หมายถึง การสื่อความหมายโดยใช้ภาพ


2).รูปแบบของการสื่อความหมาย


2.1 การสื่อความหมายทางเดียว เช่น การสอนโดยใช้สื่อทางไกล ระบบออนไลน์


2.2 การสื่อความหมายสองทาง เช่น การคุยโทรศัพท์ การเรียนการสอนในชั้นเรียน


3).ประเภทของการสื่อความหมาย


3.1 การสื่อความหมายในตนเอง เช่น การเขียน การค้นคว้า การอ่านหนังสือ


3.2 การสื่อความหมายระหว่างบุคคล เช่น การคุยโทรศัพท์ การทาง msn


3.3 การสื่อความหมายกับกลุ่มชน เช่น ครูสอนนักเรียน การบรรยายของวิทยากรกับผู้เข้าอบรม


3.4 การสื่อความหมายกับมวลชน เช่น การแถลงข่าวทางวิทยุ โทรทัศน์การเรียนรู้กับการสื่อความหมายความรู้ ความเข้าใจในทฤษฎีและหลักการของการสื่อความหมาย ที่ประกอบด้วย ผู้ให้ความรู้ (ผู้ส่ง)เนื้อหาวิธี (สาร) ผู้เรียน (ผู้รับ)